ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ตู้ลำโพงแบบ มาตรฐาน

การออกแบบตู้ลำโพงเบื้องต้น มาจากการทำให้มันสามารถสนองตอบความถี่ได้เต็มกำลังความสามารถและไม่เกิดผลรบกวนอื่นๆ ด้วยการถ่ายทอดพลังงานเสียงกระจายออกจากด้านหน้าถึงด้านหลังของตัวไดอะแฟรมได้เต็มที่ การที่ในอากาศมีแรงดึงของอากาศอยู่ ทำให้เสียงจากลำโพงเกิดขึ้นได้ไม่เต็มที่ หรือไม่อาจเพิ่มกำลังและทิศทางได้ จึงทำให้เกิดการนำเอาตู้เข้ามาควบคุมอากาศและทิศทางเสียงขึ้นมา กลายเป็นที่มาของลำโพงในแบบต่างๆขึ้น


รูปแบบของตู้ลำโพง (Enclosure Type)

ตัวตู้ลำโพง มีศัพท์ในภาษาอังกฤษเรียกได้หลายคำ เช่นที่ใช้กันอย่างเป็นทางการคือคำว่า Enclosure ซึ่งศัพท์เดิมหมายถึงขอบเขต กำแพงล้อมรอบ หรือสิ่งที่อยู่ภายในวงล้อมคอก แต่ในบางบริบทมันก็ถูกแปลว่าสิ่งที่สอดเข้าไปในช่องหรือในช่อง

อีกคำหนึ่งที่เป็นภาษาไม่เป็นทางการ คือคำว่า Cabinet แปลว่า ตู้ลำโพงได้ ในขณะที่ความหมายทั่วไปหมายถึงกล่องหรือตัวถัง ส่วนความหมายที่เลวที่สุดคือ ลิ้นชัก หมายถึงความคับขัน ส่วนใหญ่ความหมายของตู้แบบนี้มักใช้กับขนาดย่อมๆ หากเป็นตู้ลำโพงใหญ่ๆ จะไม่นิยมเรียก

อีกคำหนึ่งที่มีคนใช้อยู่คือ Baffle โดยหากเอาตามพจนานุกรมฉบับของสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด แห่งประเทศอังกฤษ หมายถึง อุปกรณ์ที่เป็นแผ่นกั้นเสียงรอบตัวลำโพงเพื่อทำให้เสียงดี ซึ่งคำแปลตรงนี้ทำให้นักวิชาการหลายคนของอเมริกาใช้เป็นประโยคล้อเลียนว่า คนอังกฤษให้ความหมายทางภาษาค่อนข้างตื้นเขิน อย่างเช่นที่เราเห็นข้อเขียนของแกรแฮม แบงค์ ดอกเตอร์จากมหาวิทยาลัย Essex ที่มีงานวิจัยลำโพง NXT เทคโนโลยีลำโพงแบนที่ใช้ในงานบ้านและงานอาชีพ

ในขั้นต้นนี้ เราจะไปศึกษารูปแบบของลำโพงประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. อินฟินัต แบฟเฟิล (Infinite baffle)
2. ไฟไนต์ แบฟเฟิล (Finite baffle)

3. ตู้ปิด (Closed box)

4. ตู้แบบมีท่ออากาศ (Vent box)

5. ตู้กระจายเสียงแพสชีฟ (Passive radiator)

6. ตู้ทรานส์มิสชั่นไลน์ (Transmission line)

7. ตู้แบนด์พาส (Bandpass enclosures)

8. ตู้ผสมมัลติแชมเบอร์ (Multichamber system)









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น